วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

16. เพิ่มคลังศัพท์ภาษาอังกฤษในสมองด้วยวิธี ‘พลิก’ หรือ ‘คลิก’ ไปเรื่อย ๆ ศัพท์ที่ไม่เคยพบมาก่อนก็จะเริ่มเห็น ศัพท์ที่เคยเห็นมาบ้างก็จะจำได้มากขึ้น ศัพท์ที่จำได้แล้วก็จะจำได้แม่นและแน่นยิ่งขึ้น
17. จำ prefix (พยางค์เติมหน้า) และ suffix (พยางค์ต่อท้าย) พื้นฐานไว้บ้าง พยางค์เหล่านี้จะช่วยให้เราแยกแยะส่วนประกอบของคำได้ อย่างน้อยก็ในระดับพื้นฐาน ทำให้เดาความหมายของศัพท์ได้ง่ายขึ้น พอเดาบ่อย ๆ ได้ก็จะจำได้ง่ายขึ้น
18. จำความหมายของรากศัพท์ไว้ ยิ่งจำได้มากเท่าใด ก็จะเดาความหมายของคำศัพท์ได้ง่ายขึ้นเท่านั้น19. ทำสมุดคำศัพท์ที่เป็น digital file ที่ง่าย ๆ ก็ใช้ เอกสาร WORD นี่แหละทำ20. ทบทวนศัพท์เมื่อตื่นนอนและก่อนนอน: เมื่อตื่นนอนซึ่งเป็นเวลาที่สมองกำลังโล่งเพราะเพิ่งตื่น เอาสมุดจดศัพท์มาทบทวนสัก 10 นาที และก่อนจะล้มตัวลงนอน ซึ่งเป็นเวลาที่สมองกำลังจะโล่งเพราะกำลังจะหลับ ก็เอาสมุดจดศัพท์มาทบทวนอีกสัก 10 นาที เมื่อใช้เวลาเท่ากัน เวลาตื่นนอนและจะล้มตัวลงนอนนี้ ท่านจะจำศัพท์ได้มาก - ได้เร็ว - และได้นานกว่าเวลาอื่น ๆ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

วิธีจำคำศัพท์ง่าย ๆ (ต่อ)

11.ใช้วิธีจำศัพท์ด้วยคำคล้องจอง มีบางเว็บที่เป็นตัวช่วยในเรื่องนี้

12. ใช้บัตรคำช่วยจำภาพ ด้านหนึ่งเขียนคำศัพท์ อีกด้านหนึ่งเขียนคำแปล เวลาทบทวนจะใช้วิธีมองคำศัพท์แล้วนึกถึงคำแปล หรือมองคำแปลแล้วพยายามนึกถึงคำศัพท์ หรือใช้ทั้ง 2 วิธีสลับกันก็ได้

13. จำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยวิธีอ่านหลาย ๆ ประโยคตัวอย่างที่มีศัพท์ตัวนั้น มีบางเว็บที่เป็นตัวช่วยในเรื่องนี้ เช่น พิมพ์คำศัพท์, Enter, คลิก Example

14. จำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยวิธีจำศัพท์เป็นกลุ่มคำที่มีความสัมพันธ์ในแง่ใดแง่หนึ่ง

15. นึกถึงคำศัพท์ภาษาไทยแล้วหาคำแปลที่เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษ

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิธีจำคำศัพท์ง่าย ๆ

วิธีจำศัพท์ให้ได้มาก ๆ – จำได้เร็ว – และจำได้นานไม่ลืมง่าย ๆ

1. มีสมาธิขณะที่อ่านและฟังภาษาอังกฤษ หากขาดสมาธิหรือสมาธิอ่อน จะจับถ้อยคำที่อ่านหรือฟังไม่ได้หรือได้น้อย ภาษาไทยเรียกว่า ‘ฟังไม่ได้ศัพท์’ เมื่อไม่ได้ศัพท์ก็จำศัพท์ไม่ได้

2. ควร ‘จำ’ ความหมายพื้นฐานของคำศัพท์ 1,000 คำนี้ให้ได้ เมื่อจำได้แล้วจะเหมือนได้ก้าวข้ามประตูสู่โลกของภาษาสากลที่กว้างใหญ่ไร้ขอบเขต จะจำด้วยวิธี ‘ท่อง’ หรือด้วยวิธีใดก็ได้ ขอให้จำให้ได้ก็ใช้ได้ ถ้าใช้วิธีสบาย ๆ จำไม่ได้ ก็ต้องเพิ่มความอดทนและวินัย

3. มีสมุดโน้ตเล่มเล็ก ๆ ติดกระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋าถือไว้เสมอ สงสัยศัพท์คำใด หรือนั่งอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำอะไร หรือเมื่อมองไปรอบตัวและเห็นสิ่งของ หรือป้ายต่าง ๆ ถามตัวเองว่า สิ่งนั้นศัพท์ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร ถ้าตอบไม่ได้ก็จดคำนั้นในสมุดโน้ต และทำการบ้านคือหาคำแปลจากดิกชันนารีหรือผู้รู้และจดลงไป และเปิดอ่านทบทวนเป็นระยะ ๆ

4. มีดิกชันนารีขนาดเล็กมาก ๆ หรือขนาดจิ๋วติดกระเป๋าถือไว้ เพื่อพลิกหาความหมายยามสงสัย หรือทบทวนศัพท์ยามเหงาหรือยามว่าง เป็นวิธีที่แก้เหงาและแก้โรคขี้ลืมได้เป็นอย่างดี และเพิ่มคำศัพท์ในสมองอีกด้วย

5. มีวิธีหนึ่งที่ผมเคยใช้จำคำศัพท์สมัยเด็ก ๆ คือ จดคำศัพท์พร้อมคำแปลตัวโต ๆ ไว้ที่ฝาห้องแล้วนอนท่องเล่น ๆ บ้าง ท่องจริง ๆ บ้างไปเรื่อย ๆ ทำให้จำได้ดีเหมือนกันครับ สมัยนี้น้อง ๆ อาจจะใช้วิธีเขียนไว้ที่กระดาษ Post-It Note แล้วแปะไว้ที่ตู้กระจก หรือที่ไหนก็ได้ในห้องนอนของตัวเองที่มองเห็นง่าย ๆ

6. เล่นเกมคำศัพท์ เช่น scrabble, hangman, crossword puzzle จะเล่นคนเดียวหรือเล่นกับเพื่อนหรือกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็ได้

7. อ่านภาษาอังกฤษทุกวัน เริ่มจากเรื่องที่ชอบ จากน้อยไปมาก จากง่ายไปยาก แต่ขอให้อ่านทุกวัน ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องทุกถ้อยคำที่อ่าน แต่ให้ใส่ใจกับทุกถ้อยคำที่อ่าน ไม่รู้เรื่องก็จะค่อย ๆ รู้เรื่องมากขึ้นเอง และเมื่อใส่ใจก็จะค่อย ๆ เข้าใจมากขึ้นเอง นี่เป็นกฎธรรมชาติ
8. ฟังภาษาอังกฤษทุกวัน เริ่มจากเรื่องที่ชอบ จากน้อยไปมาก จากง่ายไปยาก แต่ขอให้ฟังทุกวัน ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องทุกถ้อยคำที่ฟัง แต่ให้ใส่ใจกับทุกถ้อยคำที่ฟัง ไม่รู้เรื่องก็จะค่อย ๆ รู้เรื่องมากขึ้นเอง และเมื่อใส่ใจก็จะค่อย ๆ เข้าใจมากขึ้นเอง นี่เป็นกฎธรรมชาติ


9. ในวันหนึ่ง ๆ ลองพยายามนึกพูดเป็นภาษาอังกฤษอย่างน้อย 3 ประโยค ถ้านึกไม่ออกหรือไม่แน่ใจว่าควรจะพูดอย่างไร ให้จดใส่สมุดโน้ตไว้ และทำการบ้านโดยสอบถามผู้รู้และฝึกพูดออกมาดัง ๆ และจดลงสมุดโน๊ตเพื่อเปิดพูดทบทวนเป็นระยะ ๆ

10. ใช้วิธีจำศัพท์ด้วยภาพ มีเว็บหลายเว็บที่เป็นตัวช่วยในวิธีนี้